0 0
Read Time:2 Minute, 51 Second

หลังจากที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนดำเนินมานานกว่า 15 เดือน หนึ่งในสิ่งที่หลายฝ่ายประเมินว่าอาจเป็น “ตัวจบสงคราม” คือเครื่องบินรบ F-16 ซึ่งยูเครนได้พยายามร้องขอชาติพันธมิตรตะวันตกมาโดยตลอด

F-16 ถือเป็นยุทโธปกรณ์สมรรถนะสูงที่มีพิสัยทำการ 860 กิโลเมตรทั้งนี้ ก่อนหน้านี้หลายชาติยังแบ่งรับแบ่งสู้ ไม่ชัดเจนว่าจะมีการจัดส่ง F-16 ให้ยูเครนหรือไม่ แต่ท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐฯ ก็ทำให้โอกาสตรงนี้ดูจะสูงขึ้น ซึ่งสร้างความกังวลให้กับรัสเซีย

อเล็กซานเดอร์ กรุชโค รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียเตือนประเทศตะวันตกถึง “ความเสี่ยงอย่างใหญ่หลวง” หากยูเครนได้รับเครื่องบินขับไล่ F-16 จากชาติตะวันตก

ยูเครนยืนยัน ยังไม่สูญเสียเมือง “บัคมุต” ให้กับรัสเซีย

จับตาท่าที G7 ต่อสงคราม รัสเซีย-ยูเครน หลังเซเลนสกีเยือนญี่ปุ่น คำพูดจาก เกมสล็อตเว็บแท้

รัสเซียขึ้นบัญชีดำชาวอเมริกันอีก 500 คน ห้ามเข้าประเทศ รวม"โอบามา"ด้วย

ความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ประกาศเปลี่ยนใจให้การสนับสนุนนักบินยูเครนเข้ารับการฝึกบิน F-16 จากเดิมที่เคยบอกไว้ว่าจะไม่มีการส่ง F-16 ให้ยูเครน โดยส่งสัญญาณไปยังพันธมิตรในยุโรปว่าพวกเขาจะอนุญาตให้ส่งออก F-16 ไปยังยูเครนได้

กรุชโคกล่าวว่า “เราได้เห็นแล้วว่า ประเทศตะวันตกยังคงทำให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น … “มันเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงมหาศาลสำหรับพวกเขาเอง ไม่ว่าในกรณีใด สิ่งนี้จะถูกนำมาพิจารณาในแผนทั้งหมดของเรา และเรามีวิธีการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้”

ล่าสุดวันนี้ (22 พ.ค.) อนาโตลี อันโตนอฟ เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหรัฐฯ แถลงว่า การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16 ให้ยูเครนจะทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนาโตในความขัดแย้ง

“ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติการของ F-16 ในยูเครน และจำนวนนักบินและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงที่ต้องการก็ไม่มีเช่นกัน … จะเกิดอะไรขึ้นหากเครื่องบินรบอเมริกันบินขึ้นจากสนามบินของนาโต และควบคุมโดย 'อาสาสมัคร' ต่างชาติ” อันโตนอฟกล่าว

นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีรายงานว่า อังกฤษและเนเธอร์แลนด์ก็กำลังพูดคุยกับพันธมิตรเพื่อช่วยยูเครนจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16 เช่นกัน

ปัจจุบัน ประเทศในยุโรปไม่กี่ประเทศมีการจัดหา F-16 ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ รวมถึงเนเธอร์แลนด์ ซึ่งส่งสัญญาณว่าเต็มใจที่จะส่งมอบบางส่วนที่มีให้กับยูเครน แต่สหรัฐฯ จะต้องอนุมัติการถ่ายโอนของบุคคลที่สาม เนื่องจากเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับเทคโนโลยีเครื่องบินไอพ่นที่ละเอียดอ่อนของสหรัฐฯ

นับตั้งแต่การรุกรานของรัสเซียเริ่มต้นขึ้น ประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ได้พยายามอย่างหนักที่จะจัดหา F-16 มาช่วยในการต่อสู้ แต่ชาติตะวันตกต่างสงวนท่าที เนื่องจากเกรงว่าอาจมีการนำไปใช้รุกรานดินแดนของรัสเซีย ซึ่งอาจทำให้ความขัดแย้งระหว่างนาโตและรัสเซียทวีความรุนแรงขึ้น

ด้านประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ยืนยันกับไบเดนว่า จะไม่ใช้เครื่องบินรบเหล่านี้รุกล้ำเข้าไปในดินแดนของรัสเซียเด็ดขาดหากได้รับมอบมา

เรียบเรียงจาก CNN / Reuters

ภาพจาก AFP

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin